นครศรีธรรมราช
วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ขยายโครงการความร่วมมือการศึกษาระบบทวิภาคี
ที่ห้องประชุมวิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ดร.จิตสถา ศิรินภัค อุปนายกวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามมกุฎราชกุมารี กลุ่มภาคใต้ และผู้รับใบอนุญาต/ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียน นักศึกษา ระบบทวิภาคี ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาสาขาวิชา การจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
โดย ดร.ฉัชร์ภิมุก อภินันท์โชติสกุล ผู้อำนวยการบริหารความร่วมมือและพัฒนาธุรกิจ เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ ” เรียนทวิภาคีดีอย่างไร” และ นาย เสกข์ศักร ทองส่งโสม ผู้จัดการเขตปฏิบัติการ 3/4 RSLชี้แจงกระบวนการเรียนรู้และการปฏิบัติตนของนักเรียน นักศึกษา ระบบทวิภาคี ในสถานประกอบการ โดยมี นักเรียน นักศึกษา ในโครงการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนและเข้าสู่การเรียนรู้ภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ ซึ่งในโอกาสนี้ ดร.จิตสถา ศิรินภัค ผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร ได้กล่าวขอบคุณ ซีพีออลล์ ที่ได้สนับสนุนทุนการศึกษาและมอบโอกาสให้กับนักเรียน นักศึกษา และเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีโอกาสในการเรียน ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้เด็กมีรายได้ระหว่างเรียน ซึ่งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัวท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย และที่สำคัญเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างทักษะอาชีพให้กับผู้เรียนในอนาคต
ส่วน ดร.ฉัชร์ภิมุก อภินันท์โชติสกุล ได้กล่าวว่าการตัดสินใจของนักเรียน นักศึกษา เลือกเ ข้าสู่เส้นทาง สายวิชาชีพเป็นการตัดสินใจที่ต้องอาสัยพื้นฐานเฉพาะบุคคล ต้องมีความชอบความถนัดและมีความสนใจที่จะเรียนรู้ในสาขาต่างๆเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต ในความเป็นจริงแล้วหากนักเรียนนักศึกษา ตั้งใจที่จะหาความก้าวหน้าและสร้างโอกาสให้กับตัวเองในอาชีพที่ตัวเองเลือกแล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้จบปริญญาตรี แล้วจึงจะเข้าสู่การประกอบอาชีพ แต่การเรียนในระบบทวิภาคีสามารถที่จะสร้างประสบการณ์และเพิ่มทักษะในอาชีพช่วยตัวเองเลือกและได้ฝึกฝนตั้งแต่ ตอนเรียนระดับปวช. ระดับ ปวส.และ ระดับ ปริญญาตรีซึ่งการเรียนในรูปแบบทวิภาคี เป็นสิ่งที่ดีที่จะสามารถทำให้เราเกิดความชำนาญ เชียวชาญ มีทักษะอาชีพ มากกว่านักศึกษา ที่เรียนในระบบปกติ และเมื่อสำเร็จการศึกษาจึงจะคิดถึงการเข้าสู่อาชีพดังนั้นเราอาจจะมีคุณลักษณะที่สถานประกอบการ ให้ความสนใจและเป็นสิ่งที่สถานประกอบการหรือนายจ้างคาดหวังมากกว่ากลุ่มผู้เรียนและสำเร็จการศึกษาที่ไร้ประสบการณ์ นี่คือหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี.